วันอังคารที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

อลังการงานสร้างของเซิร์นยิงลำอนุภาคก่อมินิบิกแบง

เซิร์นยิงลำอนุภาคก่อมินิบิกแบง


นักฟิสิกส์ของเซิร์นประสบความสำเร็จในการยิงอนุภาคย่อยชนกันที่พลังงานสูง สุดเป็นสถิติใหม่ สร้างมินิบิกแบงที่คล้ายกับการระเบิดยุคแรกเริ่มของการก่อกำเนิดจักรวาล เมื่อ 13.7 พันล้านปีก่อน นักวิทยาศาสตร์โห่ร้องเป็นการเริ่มต้นของยุคใหม่

ศูนย์วิจัยนิวเคลียร์ยุโรป (เซิร์น) ประกาศว่า โครงการเครื่องเร่งอนุภาคขนาดใหญ่ (แอลเอชซี) ของเซิร์นสามารถปลดปล่อยการระเบิดของพลังงานในระดับที่ไม่เคยมีมาก่อน จากการยิงลำอนุภาคย่อยของโปรตอนพุ่งชนกันด้วยความเร็วใกล้ความเร็วแสง ภายในวงแหวนเครื่องเร่งอนุภาคความยาว 27 กิ โลเมตรใต้พรมแดนฝรั่งเศส-สวิตเซอร์แลนด์ใกล้กับนครเจนีวา เมื่อเวลา 13.06 น. วันที่ 30 มี.ค.ตามเวลาท้องถิ่นของสวิส

เปาลา คาตาปาโน นักวิทยาศาสตร์และโฆษกของเซิร์น กล่าวว่า การยิงลำอนุภาคชนกันได้ที่ระดับ 7 Tev (ล้านล้านอิเล็กตรอนโวลต์) ครั้งนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของยุคใหม่ ส่วนเซอร์จิโอ แบร์โตลุกซี ผู้อำนวยการวิจัยของเซิร์นบอกว่า ความสำเร็จครั้งนี้เปิดประตูสู่ยุคใหม่ของการค้นพบทางวิทยาศาสตร์อย่างแท้ จริง ในขณะที่รอล์ฟ ฮอยเออร์ ผู้อำนวยการทั่วไปของเซิร์น ถึงกับสะกดอารมณ์ตื่นเต้นไม่อยู่ขณะแถลงผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์จากโตเกียว โดยยกว่ามันคือช่วงเวลามหัศจรรย์ทางวิทยาศาสตร์

ความสำเร็จครั้งสำคัญของโครงการมูลค่า 9.4 พันล้านดอลลาร์นี้เกิดขึ้นภายหลังการเริ่มต้นอย่างกระท่อนกระแท่นของเครื่อง เร่งอนุภาคที่ใช้เงินลงทุนมหาศาล เมื่อปี 2551 ที่ทำให้นักฟิสิกส์ต้องยุติการทดลองเพื่อซ่อมแซมเครื่องหลังจากเปิดใช้งาน ได้แค่ไม่กี่วัน ก่อนจะเริ่มเดินเครื่องได้ใหม่เมื่อ พ.ย.ปีก่อน

ในความพยายามครั้งที่ 3 ของวัน นักฟิสิกส์สามารถทำให้ลำอนุภาคโปรตอน 20 ล้านอนุภาคพุ่งชนกันได้สำเร็จ ก่อให้เกิดการระเบิดของพลังงานในระดับเศษเสี้ยวที่เล็กมาก ที่ 7 TeV ซึ่งเป็นการจำลองสภาพการระเบิดใกล้เคียงกับบิกแบงที่ก่อกำเนิดเอกภพ ที่ซึ่งสสารและพลังงานถูกปลดปล่อยออกมา และนำไปสู่การก่อตัวของกลุ่มดาวและดาวเคราะห์และกำเนิดชีวิตในท้ายที่สุด

"เราอยู่ในระดับหนึ่งในพันล้านส่วนวินาทีของบิกแบง" เจมส์ กิลลีส์ โฆษกเซิร์นกล่าว

นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรที่ประจำตามห้องควบคุมต่างๆ ของเซิร์นต่างโห่ร้องยินดีและปรบมือเกรียวกราวเมื่อเครื่องตรวจหาแสดง ภาพกราฟิกการชนกันของอนุภาคย่อยของอะตอมบนจอคอมพิวเตอร์

สตีฟ มายเออร์ส ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีและเครื่องเร่งอนุภาค เปรียบเทียบความพยายามดังกล่าวว่า เหมือนการยิงเข็มจากสองฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกให้พุ่งชนกันที่กึ่ง กลางมหาสมุทร โดยอนุภาคเหล่านี้วิ่งสวนกันรอบวงแหวนดังกล่าวที่ความเร็วมากกว่า 5,000 รอบต่อวินาที

แอลเอชซีเคยประสบความสำเร็จในการยิงลำอนุภาคโปรตอน 2 ลำสวนทิศทางกันที่ระดับ 3.5 TeV เมื่อวันที่ 19 มี.ค. แต่การชนกันที่ระดับ 7 Tev ยังไม่ใช่ที่สุด แอลเอชซีตั้งเป้าจะเร่งอนุภาคถึงระดับ 14 Tev หรือ 2 เท่าของการทดลองปัจจุบัน ซึ่งเทียบเท่ากับ 99.99% ของความเร็วแสง

หลายเดือนและหลายปีนับจากนี้ นักวิจัยราว 10,000 คนในห้องปฏิบัติการทั่วโลกรวมถึงที่เซิร์นจะวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมหาศาลที่ จะได้จากการชนการชนอนุภาคเป็นพันๆ ล้านครั้ง เพื่อสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น นักวิทยาศาสตร์ตั้งความหวังไว้ด้วยว่า เครื่องนี้จะเผยหลักฐานของสสารมืด, อนุภาคฮิกส์โบซอนหรืออนุภาคพระเจ้า หรืออาจเผยมิติใหม่ๆ เพิ่มจาก 4 มิติที่มีอยู่

อย่างไรก็ดี เซิร์นยืนยันปฏิเสธเสียงทักท้วงของนักวิทยาศาสตร์อื่นๆ โดยเฉพาะจากสหรัฐและเยอรมนีที่สะท้อนความกังวลของนักทฤษฎีโลกาวินาศ ที่อ้างว่าโครงการนี้อาจสร้างหลุมดำขนาดจิ๋วที่จะดูดโลกกลืนหายไปด้วย.
1 เมษายน 2553

ขอขอบคุณบทความดีๆจาก http://www.thaipost.net/news

วันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ผลงานอันเลิศล้ำ อันทรงคุณค่า ขององค์การเซิร์น

ผู้พัฒนาเวิร์ดไวด์เว็บ



นักวิจัยของเซิร์น เป็นผู้พัฒนาเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web, WWW) ขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2532 โดยเว็บเพจแรกของโลก ดึงข้อมูลมาจากเว็บเซิร์ฟเวอร์ซึ่งตั้งอยู่ที่สำนักงานใหญ่ ของเซิร์น เมื่อ พ.ศ. 2534
ประเทศ สมาชิก
ประเทศผู้ลงนามก่อตั้งเซิร์นเมื่อ พ.ศ. 2497 มี 12 ประเทศ ได้แก่

* ประเทศเบลเยียม เบลเยียม
* ประเทศเดนมาร์ก เดนมาร์ก
* สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เยอรมนี (เมื่อแรกก่อตั้งมีเพียงเยอรมนีตะวันตก)
* ประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
* ประเทศกรีซ กรีซ
* ประเทศอิตาลี อิตาลี
* ประเทศนอร์เวย์ นอร์เวย์
*ประเทศสวีเดน สวีเดน
* ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์
* ประเทศเนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์
* สหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร
* Flag of SFR Yugoslavia.svg ยูโกสลาเวีย (ถอนตัวออกในภายหลัง)

ประเทศผู้ก่อตั้งทุกประเทศยังคงเป็นสมาชิกของเซิร์น (เมื่อ พ.ศ. 2551) ยกเว้นยูโกสลาเวียที่ถอนตัวออกเมื่อ พ.ศ. 2504 และไม่กลับมาเข้าร่วมอีกเลย

นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง เซิร์นได้รับประเทศอื่นๆเข้าเป็นสมาชิกเพิ่มมากขึ้น ซึ่งประเทศสมาชิกที่เข้าร่วมหลังการก่อตั้งนี้ยังคงเป็นสมาชิกอย่างต่อ เนื่องนับตั้งแต่เข้าร่วม ยกเว้นสเปนที่เข้าร่วมเมื่อ พ.ศ. 2504 แล้วถอนตัวออกไปในอีก 8 ปีถัดมา และกลับมาเข้าร่วมเป็นสมาชิกอีกครั้งเมื่อ พ.ศ. 2526 ประวัติสมาชิกภาพของประเทศต่างๆเป็นดังนี้:

* ประเทศออสเตรีย ออสเตรีย เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2502 ทำให้เซิร์นมีประเทศสมาชิกในขณะนั้นทั้งหมด 13 ประเทศ ต่อมาเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 กระทรวงวิทยาศาสตร์และการวิจัยของออสเตรียได้ตัดสินใจและประกาศว่าจะยกเลิก สมาชิกภาพและถอนตัวออกจากเซิร์นในสิ้นปี พ.ศ. 2553 แต่ประกาศนี้ยังต้องผ่านการอนุมัติจากรัฐสภาแห่ง ออสเตรีย
* Flag of SFR Yugoslavia.svg ยูโกสลาเวีย ถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2504 (สมาชิก 12 ประเทศ)
* ประเทศสเปน สเปน เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2504 (ทำให้จำนวนประเทศสมาชิกเพิ่มขึ้นเป็น 13 ประเทศอีกครั้ง) ต่อมาถอนตัวเมื่อ พ.ศ. 2512 (สมาชิก 12 ประเทศ) และกลับเข้าเป็นสมาชิกอีกครั้งเมื่อ พ.ศ. 2526 (สมาชิก 13 ประเทศ)
* สาธารณรัฐโปรตุเกส โปรตุเกส เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2528 (สมาชิก 14 ประเทศ)
* ประเทศฟินแลนด์ ฟินแลนด์ เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2534
* ประเทศโปแลนด์ โปแลนด์ เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2534 (พร้อมกับฟินแลนด์ ทำให้จำนวนประเทศสมาชิกเพิ่มขึ้นเป็น 16 ประเทศ)
* ประเทศฮังการี ฮังการี เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2535 (สมาชิก 17 ประเทศ)
* สาธารณรัฐเช็ก สาธารณรัฐเช็ก เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2536
* ประเทศสโลวาเกีย สโลวาเกีย เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2536 (พร้อมกับสาธารณรัฐเชค ทำให้จำนวนประเทศสมาชิกเพิ่มขึ้นเป็น 19 ประเทศ)
* ประเทศบัลแกเรีย บัลแกเรีย เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2542 (สมาชิก 20 ประเทศ)
* ประเทศมาซิโดเนีย มาซิโดเนีย เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2552 (สมาชิก 21 ประเทศ)

ปัจจุบันมีประเทศสมาชิก 20 ประเทศ ในจำนวนนี้มี 18 ประเทศที่เป็นสมาชิกของ สหภาพยุโรป

นอกจากนี้ ยังมีอีก 6 ประเทศและองค์กรระหว่างประเทศอีก 2 องค์กรที่อยู่ในฐานะผู้สังเกตการณ์ ได้แก่

* สาธารณรัฐอินเดีย อินเดีย
* ประเทศอิสราเอล อิสราเอล
* ประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
* สหพันธรัฐรัสเซีย รัสเซีย
*ประเทศตุรกี ตุรกี
* สหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกา

ขอขอบคุณบทความดีๆจาก www.wikipedia.org

วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เปิดตัวองค์การเซิร์น

เซิร์น



องค์กรเพื่อการวิจัยนิวเคลียร์แห่งยุโรป
European Organization
for Nuclear Research
Organisation Européenne
pour la Recherche Nucléaire
ออร์กานิซาซีอ็อง เออรอปเปน


เซิร์น (อังกฤษ: European Organization for Nuclear Research; CERN; ฝรั่งเศส: Organisation européenne pour larecherche nucléaire) เป็นองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศในทวีปยุโรปเพื่อวิจัยและพัฒนาทางด้านนิวเคลียร์ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2497 โดยมีประเทศสมาชิกก่อตั้ง 12 ประเทศ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์
เมื่อแรกก่อตั้ง เซิร์น มีชื่อว่า Conseil Européen pour la Recherche Nucléaire (European Council for Nuclear Research) ซึ่งเป็นที่มาของชื่อย่อ CERN

เซิร์นเป็นสถานที่ทำการทดลองมากมายที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อนำไปใช้ให้ เกิดประโยชน์ และยังมีชื่อเสียงในฐานะเป็นต้นกำเนิดของเวิลด์ไวด์เว็บสำนักงานหลักที่เขตเมแร็งมีศูนย์คอมพิวเตอร์ขนสำนักงานหลักที่เขตเมแร็งมีศูนย คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่มีอุปกรณ ์ประมวลผลข้อมูลที่มีประสิทธิภาพสูงมากเพื่อการ วิเคราะห์ข้อมลจากการทดลอง และเนื่องจากจำเป็นต้องทำให้นักวิจัยในสถานที่อื่นสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ได้ จึงต้องมีฮับสำหรับข่ายงานบริเวณกว้างอีกด้วย
ในฐานะที่เป็นองค์กรระหว่างประเทศสถานที่ของเซิร์นจึงไม่อยู่ภายใต้อำนาจทางกฎหมายของทั้ง สวิตเซอร์แลนด์และฝรั่งเศส ใน พ.ศ. 2551 เซิร์นได้รับยอดบริจาคจากประเทศสมาชิกรวมแล้ว 1 พันล้านฟรังก์สวิส
สำนักงานใหญ่ของเซิร์น ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงเจนีวาใกล้กับชายแดนฝรั่งเศส-สวิตเซอร์แลนด์ เป็นที่ตั้งของห้องปฏิบัติการนิวเคลียร์ฟิสิกส์ขนาดใหญ่ ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ 3000 คน
ปัจจุบัน เซิร์นกำลังติดตั้งเครื่องเร่งอนุภาคขนาดใหญ่ (Large Hadron Collider - LHC) ภายในอุโมงค์ใต้ดินรูปวงแหวนขนาดเส้นรอบวง 27 กิโลเมตร มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ใต้ดินของประเทศฝรั่งเศส และสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก การติดตั้งจะแล้วเสร็จและเริ่มการทดลองภายในเดือนกันยายน พ.ศ. 2551

ขอขอบคุณข้อมูล ดีๆๆ จาก http://www.wikipedia.org